Tagged: python

0

python วันละข้อ || อัตราการเต้นของหัวใจ

โจทย์ไพทอนวันนี้ เรามาประยุกต์เรื่องอัตราการเต้นของหัวใจกับการเขียนโปรแกรมกันครับ ด้วยโจทย์อัตราการเต้นของหัวใจ โดยโจทย์มีอยู่ว่า… ในการออกกำลังกายเพื่อลดไขมันควรจะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วง Zone2 คือ 60% – 70% ของ mhr (Maximum Heart rate) โดยหา mhr จะมีค่าเท่ากับ 220 – อายุปัจจุบัน ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมรับค่าอายุปัจจุบัน(เป็นจำนวนเต็ม) แล้วคำนวณหาค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม เรามาลองเขียนโปรแกรมแก้ปัญหานี้กันดูครับ โจทย์เป็นแบบเติมคำตอบ น่าจะไม่ยากเกินไป ลองดูนะครับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/ziz1ezqukt/

0

python วันละข้อ || ค่าจ้างตัดหญ้า

โจทย์ python วันนี้เป็นโจทย์ง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างการทำงานแบบลำดับ การรับค่า การประมวลผล และแสดงผล ด้วยโจทย์คำนวณค่าจ้างตัดหญ้าครับ ลองมาทำกันได้เลย https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/0q64s81vh9/

Google Slide: python loop (for and while)

การทำงานของคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบนึง ก็คือการทำงานซ้ำครับ ซึ่งเราจะเห็นได้จากอุปกรณ์หรือระบบรอบ ๆ ตัวเรา มักจะมีการทำงานซ้ำ ๆ อยู่เสมอ เช่น ลิฟต์เมื่อทำงานก็ต้องมีการตรวจสอบน้ำหนักรวมเวลาคนเข้าลิฟต์ตลอดเวลาว่าเกินกำหนดหรือไม่ เครื่องวัดอุณหภูมิต้องทำการตรวจสอบตลอดเวลาว่ามีวัตถุอยู่ในระยะที่จะทำการวัดอุณหมิหรือไม่ ดังนั้น การทำงานแบบทำซ้ำหรือวนซ้ำจึงเกิดขึ้นได้เสมอรอบ ๆ ตัวเราครับ ถ้าจะอธิบายให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของมนุษย์เข้าไปอีก ก็อย่างเช่น การเดินที่จะต้องก้าวเท้าสลับไปมาซ้ำ ๆ กัน หรือการเจียวไข่ที่ต้องทำการตีไข่ซ้ำๆ กันนั่นเองครับ สำหรับภาษาไพทอนนั้น ถ้าต้องการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานซ้ำ ๆ กัน จะมีวิธีการอย่างไร เรามาเรียนรู้ได้จากเอกสาร Google Slide ต่อไปนี้ได้เลยครับ https://docs.google.com/presentation/d/1MWlL40tqnX4sZU1kgxg7tAJ2NNH3HqYK2i5oPUYbx2M/edit?usp=sharing

การตัดสินใจ – โปรแกรมแบบทางเลือก (if-else)

ระบบคอมพิวเตอร์มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่เรียกว่า sequential ซึ่งบางครั้งโปรแกรมอาจจะต้องตัดสินใจเลือกดำเนินการทางใดทางหนึ่ง การตัดสินใจนี้ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถและถูกทำไปใช้ในการทำงานที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับเราในชีวิตประจำวันครับ โดยการพัฒนาเป็นระบบต่าง ๆ เช่น ระบบกดเจลอัตโนมัติ ระบบประตูอัตโนมัติ เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ เป็นต้น … สำหรับภาษาไพทอนแล้ว การทำให้โปรแกรมตัดสินใจได้นั้นสามารถใช้คำสั่ง if-else เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีคือการหาค่าความจริงในเรื่องตรรกศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์นั่นเอง … เอกสารโปรแกรมแบบ Selection ด้วยภาษาไพทอน 

พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน (แสดงผล รับค่า และโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย)

คลิปวิดีโอต่อไปนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ได้แก่ การแสดงผล การรับค่า และการเขียนโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย) โดยใช้ฟังก์ชัน print input และการเขียนโปรแกรมคำนวณ BMI เบื้องต้นครับ 

คลิปสรุปการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนด้วยโมดูล Turtle (Python Turtle)

สำหรับคลิปนี้เป็นการสรุปการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน โดยใช้โมดูลเต่า (Turtle) ครับ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะครับ ถ้าชอบ ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ฝากติดตามช่อง Youtube ด้วยนะคร๊าบบบ

เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 5 ตัวดำเนินการและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์

เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 5 ตัวดำเนินการและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ในครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของตัวดำเนินการกันครับ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมทุกภาษาแน่นอน พร้อมทั้งเรื่องฟังก์ชัน โดยในคร้งนี้เราจะมาดูฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่ภาษาไพทอนเตรียมไว้ให้ครับ ตามเอกสารที่แนบมานี้เลย

เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 4 คำสั่งแสดงผล – รับค่า และโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย

เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 4 คำสั่งแสดงผล – รับค่า และโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย หลังจากที่นักเรียนเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของภาษาไพทอนด้วยการเขียนโปรแกรมโดยใช้โมดูล turtle ไปแล้ว ลำดับต่อไปนี้จะเป็นการเริ่มต้นเข้าใจโครงสร้างคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การแสดงผลข้อมูล การรับค่าข้อมูลผ่านทางคีย์บอร์ด และการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลอย่างง่ายครับ

เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 3 เต่าสร้างโลก

เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 3 เต่าสร้างโลก เอกสารนี้เป็นการให้นักเรียนได้ลองสร้างโลกตามจินตนการของตนเองด้วย python turtle ครับ หลังจากที่เรียนรู้การวาด การใช้สี การใช้ loop และฟังก์ชันมาแล้ว กิจกรรมนี้จะได้นำความรู้ทั้งหมดมาสร้างเป็นโลกของตนเอง

เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า

เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า