python วันละข้อ || แสดงชื่อ n ครั้ง
โจทย์ครั้งนี้เรายังอยู่กันที่การทำงานซ้ำ โดยการใช้คำสั่ง for() ครับ แต่ประยุกต์เพิ่มเติมจากครั้งที่ผ่านมานิดนึง คือให้ทำงานซ้ำตามจำนวน n รอบ ที่ระบุหรือป้อนเข้าไปในโปรแกรม เราไปลองทำกันเลยดีกว่าครับ
โจทย์ครั้งนี้เรายังอยู่กันที่การทำงานซ้ำ โดยการใช้คำสั่ง for() ครับ แต่ประยุกต์เพิ่มเติมจากครั้งที่ผ่านมานิดนึง คือให้ทำงานซ้ำตามจำนวน n รอบ ที่ระบุหรือป้อนเข้าไปในโปรแกรม เราไปลองทำกันเลยดีกว่าครับ
บทเรียนต่อไปนี้ อยากให้ทุกคนมาเรียนรู้การเขียนโปรแกรมให้สามารถทำงานซ้ำได้ครับ ด้วยการใช้คำสั่ง for()
การทำงานของระบบรอบ ๆ ตัวเราในทุกวันนี้มักจะมีการทำงานซ้ำ ๆ กันอยู่เสมอครับ เช่น การสั่งให้ถังเครื่องซักผ้าหมุนกลับไปกลับมา การสั่งให้หุ่นยนต์เดินหน้าไปเรื่อย ๆ หรือการตรวจสอบการชนเมื่อเราเข้าเกียร์ถอยหลังรถยนต์
หลังจากที่เราได้ลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยการใช้คำสั่ง if-else แบบเติมคำในช่องว่างไปแล้ว ทุกคนน่าจะพอเห็นภาพและแนวทางการใช้คำสั่ง if-else บ้างแล้ว อย่างนั้นเรามาลองทำโจทย์ข้อนี้ด้วยการเขียนโปรแกรมเองทั้งหมดกันเลยครับ
เรามาทบทวนการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ให้โปรแกรมตัดสินใจตามรูปแบบที่กำหนดกันอีกครั้งนะครับ โดยครั้งนี้จะเป็นโจทย์แบบเติมคำตอบ ซึ่งเป็นโปรแกรมตรวจสอบเลขจำนวนเต็มที่รับเข้าสู่โปรแกรมว่าเป็นจำนวนเต็มประเภทใด (จำนวนเต็มบวก, จำนวนเต็มลบ, ศูนย์) มาลองทำกันเลยครับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/i1cmslldwz/
การทำงานใด ๆ มักจะมีขอบเขตการดำเนินการจำกัด และเพื่อให้ระบบการทำงานนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ก็ควรจะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปประมวลผลว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือไม่
โปรแกรมตัดเกรดก็เช่นกันครับ สมมติว่าวิชาคอมพิวเตอร์ มีการเก็บคะแนนเป็น 3 ส่วน คือ คะแนนเก็บ 50 คะแนน คะแนนกลางภาค 20 คะแนน และคะแนนปลายภาค 30 คะแนน
หลังจากที่เขียนโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย หรือการเขียนโปรแกรมแบบลำดับมาสักพักนึงแล้ว เรามาลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจบ้างครับ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์นอกจากจะทำงานแบบลำดับแล้ว บางครั้งก็ต้องมีการตัดสินใจด้วย อาจจะมองดูรอบ ๆ ตัวเราก็ได้ ทุก ๆ อุปกรณ์หรือการทำงานในแต่ละขั้นตอนในชีวิตประจำวัน มักจะมีการตัดสินใจอยู่เสมอ และถ้าเราจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจบ้างล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ถ้าเริ่มมืดให้ไฟเปิดอัตโนมัติ แบบนี้เป็นต้น หรือเมื่อนำมือไปใกล้ ๆ ให้อุปกรณ์นั้นทำการวัดอุณหภูมิ เราไปดูตัวอย่างกันครับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/5p9ji2yuco/
วันนี้เรามาเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเพื่อแก้ปัญหากันต่อนะครับ การแก้ปัญหานี้เป็นแบบลำดับ เหมือนครั้งที่ผ่านมา หรือถ้าจำคำสั่งไม่ได้ ก็สามารถไปดูตัวอย่างโค้ดแบบเติมคำตอบในโพสก่อนหน้านี้ได้ครับ โจทย์ในวันนี้ก็คือ พนังงานบริษัทแห่งหนึ่งมีรายได้ที่เป็นเงินเดือน m บาท นอกจากนี้หากมีการทำโอทีก็จะได้รับเงินพิเศษเพิ่มชั่วโมงละ 150 บาท โดยเมื่อถึงวันสิ้นเดือนพนักงานจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 8% ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมรับค่าจำนวนเงินเดือน(เป็นจำนวนเต็ม) และจำนวนชั่วโมงที่ทำโอทีในเดือนนั้น(เป็นจำนวนเต็ม) แล้วแสดงรายได้รวม ภาษีที่ต้องจ่าย และรายได้สุทธิ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/zceigga0nq/ แนวคำตอบ https://replit.com/@krunattapon/phaasiiphathnaachaati#main.py
ปัญหาการแบ่งมรดกมักจะมีมาทุกยุคทุกสมัยครับ และวันนี้ปัญหาเหล่านี้ก็มาถึงโจทย์โปรแกรมแล้ว เราลองมาดูซิว่าจะแก้ปัญหาการแบ่งมรดกให้บ้านนี้อย่างไรดีครับ ก่อนที่คุณพ่อของพจมาน สว่างวงศ์จะสิ้น ท่านได้เขียนพินัยกรรมไว้ให้พจมานและลูก ๆ รวมทั้งหมด 4 คน ซึ่งเมื่อทนายประจำตระกูลเปิดพินัยกรรมออกจากพบว่า… ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด m บาท ครึ่งหนึ่งขอยกให้พจมาน ส่วนที่เหลือให้แบ่งครึ่งแล้วยกให้ลูกคนที่สอง และส่วนสุดท้ายให้แบ่งครึ่งแล้วแบ่งให้ลูกสองคนสุดท้ายเท่า ๆ กัน ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมรับค่าเงินมรดก(เป็นจำนวนเต็ม) แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นยอดเงินที่ลูกทั้งสี่คนได้รับตามลำดับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/mg8pokffz9/ แนวคำตอบ : https://replit.com/@krunattapon/aebngmrdk#main.py
วันนี้มาฝึกเรียนโปรแกรมภาษาไพทอนด้วยตนเองกันนะครับ ด้วยโจทย์เรื่อง “ค่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์” โจทย์นี้เป็นการฝึกวิเคราะห์ Input -> Process -> Output เบื้องต้น ให้รู้จักการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลอย่างง่าย และการแสดงผลครับ ไม่น่าจะยาก ลองทำดูก่อนนะ แล้วค่อยดูเฉลยด้านล่าง https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/o069ktelmq/ แนวคำตอบ https://replit.com/@krunattapon/khaaeriiynphiesskhnitsaastr#main.py
โจทย์ไพทอนวันนี้ เรามาประยุกต์เรื่องอัตราการเต้นของหัวใจกับการเขียนโปรแกรมกันครับ ด้วยโจทย์อัตราการเต้นของหัวใจ โดยโจทย์มีอยู่ว่า… ในการออกกำลังกายเพื่อลดไขมันควรจะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วง Zone2 คือ 60% – 70% ของ mhr (Maximum Heart rate) โดยหา mhr จะมีค่าเท่ากับ 220 – อายุปัจจุบัน ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมรับค่าอายุปัจจุบัน(เป็นจำนวนเต็ม) แล้วคำนวณหาค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม เรามาลองเขียนโปรแกรมแก้ปัญหานี้กันดูครับ โจทย์เป็นแบบเติมคำตอบ น่าจะไม่ยากเกินไป ลองดูนะครับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/ziz1ezqukt/