Tagged: การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน

0

python วันละข้อ || จำนวนเต็มประเภทใด

เรามาทบทวนการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ให้โปรแกรมตัดสินใจตามรูปแบบที่กำหนดกันอีกครั้งนะครับ โดยครั้งนี้จะเป็นโจทย์แบบเติมคำตอบ ซึ่งเป็นโปรแกรมตรวจสอบเลขจำนวนเต็มที่รับเข้าสู่โปรแกรมว่าเป็นจำนวนเต็มประเภทใด (จำนวนเต็มบวก, จำนวนเต็มลบ, ศูนย์) มาลองทำกันเลยครับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/i1cmslldwz/

0

python วันละข้อ || โปรแกรมตัดเกรด (ตรวจสอบข้อผิดพลาด)

การทำงานใด ๆ มักจะมีขอบเขตการดำเนินการจำกัด และเพื่อให้ระบบการทำงานนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ก็ควรจะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปประมวลผลว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือไม่

โปรแกรมตัดเกรดก็เช่นกันครับ สมมติว่าวิชาคอมพิวเตอร์ มีการเก็บคะแนนเป็น 3 ส่วน คือ คะแนนเก็บ 50 คะแนน คะแนนกลางภาค 20 คะแนน และคะแนนปลายภาค 30 คะแนน

0

python วันละข้อ || ตัดเกรด(แบบง่าย) เรียนรู้การตัดสินใจด้วย if-else

หลังจากที่เขียนโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย หรือการเขียนโปรแกรมแบบลำดับมาสักพักนึงแล้ว เรามาลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจบ้างครับ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์นอกจากจะทำงานแบบลำดับแล้ว บางครั้งก็ต้องมีการตัดสินใจด้วย อาจจะมองดูรอบ ๆ ตัวเราก็ได้ ทุก ๆ อุปกรณ์หรือการทำงานในแต่ละขั้นตอนในชีวิตประจำวัน มักจะมีการตัดสินใจอยู่เสมอ และถ้าเราจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจบ้างล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ถ้าเริ่มมืดให้ไฟเปิดอัตโนมัติ แบบนี้เป็นต้น หรือเมื่อนำมือไปใกล้ ๆ ให้อุปกรณ์นั้นทำการวัดอุณหภูมิ เราไปดูตัวอย่างกันครับ https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/5p9ji2yuco/

เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 4 คำสั่งแสดงผล – รับค่า และโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย

เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 4 คำสั่งแสดงผล – รับค่า และโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย หลังจากที่นักเรียนเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของภาษาไพทอนด้วยการเขียนโปรแกรมโดยใช้โมดูล turtle ไปแล้ว ลำดับต่อไปนี้จะเป็นการเริ่มต้นเข้าใจโครงสร้างคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การแสดงผลข้อมูล การรับค่าข้อมูลผ่านทางคีย์บอร์ด และการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลอย่างง่ายครับ

เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า

เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า 

เขียนไพทอนรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บในตัวแปร

คลิปนี้แนะนำการเขียนโปรแกรมภาษาเบื้องต้น ในเรื่องของการรับค่าข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บที่ตัวแปรครับ ซึ่งจะขอแนะนำไว้ 3 รูปแบบเบื้องต้น ได้แก่ การรับค่าอักขระหรือข้อความ การรับค่าตัวเลขจำนวนเต็ม และการรับค่าตัวเลขทศนิยม

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนง่าย ๆ ด้วย 2 เครื่องมือนี้

คลิปนี้จะมาแนะนำเครื่องมือหรือ editor ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนครับ ใครสะดวกแบบออนไลน์ก็ใช้แบบออนไลน์ ใครสะดวกแบบออฟไลน์ก็ใช้แบบออฟไลน์ครับ